Blog และ ข่าวสาร

Blog บทความออนไลน์

ติวเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4-6 เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฝึกตะลุยโจทย์แนวข้อสอบกว่าพันข้อเพื่อฝึกฝีมือและทักษะการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และบทความ

สมัครเรียนออนไลน์ กับครูสอน Tuemaster

คลิกเลย

เคมีออนไลน์ เรื่อง สสารและการวัด (Substance and Measurement)



การจำแนกสสาร - สารและของผสม

สาร (substance) คือ รูปหนึ่งของสสารที่มีองค์ประกอบแน่นอนหรือคงที่ และมีสมบัติที่ชัดเจน เช่น น้ำ แอมโมเนีย น้ำตาลทราย ฯลฯ

ของผสม (mixture) คือ ประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยที่แตละสารยังคงเอกลักษณ์ของตนอยู่ เช่น อากาศ น้ำอัดลม น้ำนม ซีเมนต์ ฯลฯ

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

 - ของผสมเนื้อเดียว (homogeneous mixture  คือ ของผสมที่มีองคประกอบคงที่ตลอด

 - ของผสมเนื้อผสม (heterogeneous mixture) คือ ของผสมที่มีองค์ประกอบไม่คงที่

การจำแนกสสาร - ธาตุและสารประกอ

ธาตุ (element) คือ สารที่ไม่สามารถแยกออกเป็นสารอื่นด้วยวิธีทางเคมีสัญลักษณ์ของธาตุมักประกอบด้วยตัวอักษร 1-3 ตัว

โดยตัวแรกเป็นตัวใหญ่ ตัวถัดมาเป็นตัวเล็กเสมอ เช่น โซเดียม = Na, โคบอลต์ = Co

สารประกอบ (compound) คือ สารที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกันทางเคมีในอัตราส่วนที่แน่นอน

เช่น น้ำ ประกอบ ด้วยไฮโดรเจน 2 ส่วน และออกซิเจน 1 ส่วน

การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก

 1.สารประกอบธาตุคู่ คือ ถ้าสารประกอบเกิดจากธาตุโลหะที่มีไออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก

แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (-ide) 

        เช่น   ออกซิเจน (Oxygen) -> ออกไซด์ (Oxide

                    ไฮโดรเจน (Hydrogen)  -> ไฮไดรด์  (Hydride)

               คลอรีน  (Chlorine)  ->  คลอไรด์  (Chloride)

                   ไอโอดีน (Iodine)  ->  ไอโอไดด์ (Iodide)

ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดียวกันที่มีไออนได้หลายชนิดรวมตัวกับอโลหะ  ให้อ่ายชื่อดลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วย

ค่าประจะของไอออนของโลหะ ดดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (-ide)

เช่น Fe เกิดไออออนได้ 2 ชนิดคือ Fe 2+ กับ Fe 3+  และ  Cu เกิดไอออนได้ 2 ชนิดคือ Cu+ กับ Cu 2+  สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่าน

ชื่อสารจะได้ดังนี้

                      CuS         อ่านว่า  คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์  [Copper(I)Sulfide]

              Cu2S        อ่านว่า  คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์  [Copper(II)Sulfide]

                  FeCl2      อ่านว่า ไอรอน (II) คลอไรด์  [Iron(II) Chloride]

              FeCl      อ่านว่า ไอรอน (III) คลอไรด์  [Iron(III) Chloride]

เลขนัยสำคัญ (Significant figure) 

หมายถึง จำนวนหลักของตัวเลขที่มีความหมายในปริมาณที่วัดหรือคำนวณไดเมื่อนับจำนวนเลขนัยสำคัญแลวเปนที่เขาใจกันวา

หลักสุดทายเปนคาที่ไมแนนอน เนื่องมาจาก ความละเอียดของเครื่องมือวัด

 - กฎในการเขียนเลขนัยสำคัญ

1.เลขจำนวนเต็มที่ไม่ใช่ศูนย์ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญเสมอ

        เช่น  853 cm มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง

  1. เลขศูนย์ที่อยู่ข้างหน้า หรืออยู่ระหว่างจุดทศนิยมหรือตัวเลขไม่นับ เป็นเลขนัยสำคัญเพราะใส่เพื่อแสดงตำแหน่งจุดทศนิยมเท่านั้น

        เช่น 0.00012 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตำแหน่ง  ,  0.00000000235 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตำแหน่ง

3.เลขศูนยที่อยู่ระหว่างตัวเลขให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ

        เช่น  1.0008 มีเลขนัยสำคัญ ตำแหน่ง  ,  300568 มีเลขนัยสำคัญ 6 ตำแหน่ง